ที่มา

มหาวิทยาลัยต้องการสร้างแรงจูงใจให้คณาจารย์ทำวิจัยเพิ่มมากยิ่งขึ้น จึงให้แต่ละภาควิชาจัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่อง "ทำวิจัยอย่างไรให้มันส์"

กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของภาควิชาคณิตศาสตร์มีการสืบค้นข้อมูล และอภิปรายเกี่ยวกับแรงจูงในในการทำวิจัย มีหลายเรื่องน่าสนใจ จึงสรุปและนำมาเผยแพร่ต่อ

 

รายละเอียด

ผู้ร่วมกิจกรรมได้พูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็นจากบทความที่เผยแพร่บนเว็บไซต์ของรองศาสตราจารย์ ดร.ภาณุ ด่านวานิชกุล ถึงวิธีการทำวิจัยให้สนุกโดยอ้างอิงจากงานเขียนชื่อ “วิจัยอย่างไรให้สนุก” ของอาจารย์สุธีระ ประเสริฐสรรพ์ว่า งานวิจัยหรือ research คือการ research ซ้ำแล้วซ้ำอีกเพื่อให้เข้าใจปัญหาอย่างถ่องแท้และแก้ไขเพื่อให้ได้ผลดียิ่งขึ้น การสืบค้นข้อมูลเป็นขั้นตอนแรกของการทำวิจัยเสมอ มันเป็นขั้นตอนที่ตรวจสอบว่าวิธีการที่เรานำเสนอเพื่อแก้ปัญหานั้นได้มีการทดสอบมาก่อนหน้าแล้วหรือยัง ถ้ายังเราจะทำอย่างไรให้การแก้ปัญหามีประสิทธิภาพดีขึ้น และสร้างสรรค์องค์ความรู้ใหม่ๆในระหว่างการวิจัยนั้น ดร.ภาณุ ยังได้กล่าวว่าความสนุก(หรือความมันส์) อาจได้จากการได้ฝึกใช้ความคิดสร้างสรรค์ในการแก้ปัญหา หรือสนุกที่เมื่อลองแล้วก็ลุ้นว่าผลเป็นไปตามที่คาดคิดหรือไม่ และก็อาจจะสนุกถ้าต้องปรับแผนเมื่อมันไม่เป็นไปตามที่คาดคิด คนที่ฝึกฝนตัวเองให้พร้อมรับกับความท้าทายเช่นนี้ได้ ก็จะพบกับความสุขในการทำวิจัย ฐานความรู้จากการวิจัยก็จะค่อยๆ พอกพูน ทำให้เรายิ่งคิดอะไรได้ละเอียดลึกซึ้งขึ้นเรื่อยๆ ความคิดสร้างสรรค์จะไม่เกิดขึ้นเลยหากเราทำอะไรที่จำเจ ซ้ำซาก การลับคมความคิดด้วยปัญหาที่ไม่เคยพบมาก่อนนั่นเองที่เป็นสิ่งกระตุ้นให้เกิดความคิดสร้างสรรค์

นอกจากนี้ยังได้นำงานเขียนของ รศ.ดร.ปิติเขต สู้รักษา ในหนังสือพิมพ์ผู้จัดการออนไลน์มาแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ซึ่ง รศ.ดร.ปิติ กล่าวว่างานวิจัยไม่ใช่เรื่องที่มีความสุขแต่เป็นเรื่องที่สนุกและเร้าใจ โดยความสนุกเกิดได้จากการค้นพบ การคิดและความท้าทายใหม่ๆที่เข้ามา และการทำวิจัยจะสนุกได้ต้องมีเงิน รศ.ดร.ปิติเขตได้สรุปไว้ว่า “No Mon, No fun –No Money, No funny
ผู้ร่วมกิจกรรมทุกท่านเห็นด้วยกับความคิดเห็นเหล่านี้เพราะงานที่ผู้วิจัยต้องการทำมักเริ่มจากงานที่ให้ความสนใจและความมีความชอบ ความสนุกที่จะขุดคุ้ยข้อสงสัยในงานนั้นๆ


Link

  1. วิจัยให้สนุก
  2. "วิจัย" อย่างไรถึงจะสุข