โครงการบริการสังคม "สร้างโจทย์สำหรับนักเรียนรายบุคคล65"

ที่มา

การเรียนคณิตศาสตร์ทักษะและความเข้าใจเป็นเรื่องสำคัญ ซึ่งทักษะและความเข้าใจนี้เกิดขึ้นได้จากการฝึกฝนทำแบบฝึกหัด ภาควิชาคณิตศาสตร์เคยประสบปัญหาการลอกการบ้านของนักศึกษา ทำให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนการสอนไม่ดีเท่าที่ควร ภาควิชาฯ จึงพัฒนาโจทย์สำหรับนักศึกษาให้แต่ละคนได้โจทย์ไม่เหมือนกัน ทำให้นักศึกษาต้องพยายามทำการบ้านเอง หรือซักถามจากเพื่อน มากกว่าจะลอกโดยไม่ได้คิด จากการวัดผล การสอบ และงานวิจัยของภาควิชาฯ พบว่านักศึกษามีความกระตือรือร้นในการเรียนมากขึ้น และมีผลการเรียนดีขึ้น

ทางภาควิชาฯ พัฒนาสื่อชนิดนี้มามากกว่า 10 ปี มีความคิดว่าถ้าสามารถนำสื่อการสอนนี้ไปให้บริการแก่สังคม ทำให้ครู-อาจารย์ มีโจทย์สำหรับนักเรียนแต่ละคน และสามารถออกแบบโจทย์การบ้านหรือข้อสอบให้ตรงกับเนื้อหาที่สอน จะทำให้เกิดประโยชน์ในวงกว้างมากยิ่งขึ้น

Download >> เอกสารโครงการ << โดยละเอียด

สมัครเข้าร่วมโครงการ (ไม่มีค่าใช้จ่าย)

  1. Download บันทึกเข้าร่วมโครงการ
  2. กรอกข้อมูล 
  3. ถ่ายรูป หรือ Scan ส่งที่ Facebook ภาควิชาคณิตศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร
    https://www.facebook.com/MathematicsMUT

รายชื่อผู้เข้าร่วมโครงการ

  1. อ.วิรัตน์ ศิริมังคลานุรักษ์ โรงเรียนพระวิสุทธิวงส์ วิชาคณิตศาสตร์ ระดับมัธยมศึกษาปีที่ 4 รายวิชาเพิ่มเติม
    รหัสโครงการ Math@MUT65001
  2. อ.วิรัตน์ ศิริมังคลานุรักษ์ โรงเรียนพระวิสุทธิวงส์ วิชาคณิตศาสตร์ ระดับมัธยมศึกษาปีที่ 5 รายวิชาเพิ่มเติม
    รหัสโครงการ Math@MUT65003
  3. อ.วิรัตน์ ศิริมังคลานุรักษ์ โรงเรียนพระวิสุทธิวงส์ วิชาคณิตศาสตร์ ระดับมัธยมศึกษาปีที่ 6 รายวิชาเพิ่มเติม
    รหัสโครงการ Math@MUT65005
  4. [ ยินดีรับผู้เข้าร่วมโครงการเพิ่มเติม ]
  5. .

 

วัตถุประสงค์โครงการ

  1. ภาควิชาคณิตศาสตร์ และ ครู-อาจารย์ รวมกันพัฒนา สื่อประเภทการบ้าน และ ข้อสอบ
  2. เกิดการพัฒนาการเรียนการสอน ในวงกว้าง
  3. นักเรียน-นักศึกษา มีโจทย์ฝึกทักษะ ไม่ซ้ำกัน และหลากหลายมากยิ่งขึ้น

ข้อดีของโครงการ

  1. ครู-อาจารย์ สามารถสร้างสื่อการสอนประเภทการบ้านหรือข้อสอบ ได้ตรงกับเนื้อหาที่สอน
  2. ครู-อาจารย์ สามารถออกแบบ และ พัฒนาโจทย์ ที่ตรงกับพื้นฐานความรู้ของนักเรียนที่ตนเองสอน
  3. ครู-อาจารย์ สามารถใช้เป็นผลงานหรืองานวิจัยการสอนของตนเองได้
  4. นักเรียน-นักศึกษา จะมีโจทย์ฝึกซ้อมทักษะมากขึ้น นอกเหนือจากที่อยู่ในหนังสือมาตรฐาน
  5. นักเรียน-นักศึกษา แต่ละคนมีโจทย์เป็นของตนเอง ไม่สามารถลอกงานใครได้
  6. เมื่อเปลี่ยนจากการขอลอกงาน เป็นการขอให้ช่วยสอนทำ จะทำให้ทั้งผู้เรียนและผู้สอนได้ทักษะ ความรู้ และความเข้าใจมากยิ่งขึ้น

ขั้นตอนการดำเนินการ

  1. ภาควิชาคณิตศาสตร์ ประกาศโครงการแก่สังคม ผ่านทาง เวปไซต์ของมหาวิทยาลัย , เวปไซต์ภาควิชา , Facebookภาควิชา และ Facebookของคณาจารย์ประจำภาควิชา
  2. ผู้เข้าร่วมโครงการ ร่วมประชุมออกแบบโจทย์กับทีมงานของภาควิชา (อาจผ่านทางระบบ Online)
  3. ทีมงานพัฒนาสื่อของภาควิชาฯ ร่วมกันพัฒนา และทดสอบความถูกต้อง
  4. นำเสนอผลงานแก่ผู้เข้าร่วมโครงการ เพื่อตรวจสอบ แก้ไข และนำไปใช้ ต่อไป
  5. ทีมงานของภาควิชา ติดตามผลของการนำสื่อไปใช้ เพื่อนำมาวิเคราะห์ผลสัมฤทธิ์
  6. ภาควิชาคณิตศาสตร์ นำผลสัมฤทธิ์ มาใช้พัฒนาสื่อการสอน และ การสอนในมหาวิทยาลัย
  7. ในอนาคต ภาควิชาคณิตศาสตร์ อาจสามารถนำผลที่ได้ มาพัฒนาเป็นงานวิจัย ต่อไป

ผู้เข้าร่วมโครงการจะได้

  1. File กระดาษคำตอบ (.pdf)
  2. File โจทย์แยกตามรหัส (.pdf)
  3. File คำตอบแยกตามรหัส (.pdf)
  4. File ตัวอย่างการทำโจทย์Scan (.pdf)

ทีมงาน

  1. ดร.ธนากาญ สุนทรกระจ่าง : หัวหน้าโครงการ , โปรแกรมเมอร์
  2. ดร.สุรีย์พร สังข์สุวรรณ : ทดสอบผลงาน , ทำเฉลย
  3. อ.กานต์ฐิตา สัมปันณา : ทดสอบผลงาน , ทำเฉลย 
  4. ดร.อรวรรณ อรุณพลังสันติ : ทดสอบผลงาน , ทำเฉลย , เลขานุการโครงการ

ตารางเวลาการดำเนินโครงการ

ขั้นตอน 2565 2566
มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย. ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย.
 1. วางแผน และ กำหนดทีมงาน                          
 2. ประชาสัมพันธ์โครงการ                          
 3. รับสมัครผู้เข้าร่วมโครงการ                          
 4. ดำเนินโครงการ
 - ประชุมออกแบบสื่อ
 - สร้างสื่อ
 - นำเสนอผลงาน
 - ประเมินผลงาน
                         
 5. สรุปผลโครงการ                          

 

การวัดผลสัมฤทธิ์ของโครงการ

ประเมินจากนักเรียนที่ใช้โจทย์ โดยผลการประเมินเฉลี่ย มากกว่า 4 คะแนน (เต็ม 5 คะแนน)

 

ข้อตกลงระหว่างทีมงาน และ ผู้เข้าร่วมโครงการ

  1. การเข้าร่วมโครงการ ผู้เข้าร่วมโครงการไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้งสิ้น
  2. โจทย์ และ สื่อการสอนที่ได้จากโครงการถือว่าเป็นลิขสิทธ์ร่วมกันของผู้เข้าร่วมโครงการ และ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร
  3. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานครอนุญาตให้ผู้เข้าร่วมโครงการนำโจทย์ไปใช้เป็นผลงานการสอนได้
  4. ผู้เข้าร่วมโครงการจะต้องนำโจทย์ไปใช้สอนจริง
  5. ผู้เข้าร่วมโครงการจะต้องไม่นำโจทย์ไปขาย หรือ ทำการอื่นใดเพื่อสร้างรายได้ อย่างเด็ดขาด
  6. โครงการ 1 โครงการ สำหรับ ครู 1 ท่าน / 1 วิชา / 1 ชั้นเรียน / 1 ภาคการศึกษา
    ( ครู 1 ท่าน อาจเข้าร่วมโครงการหลายครั้งได้ กรณีที่สอนหลายชั้นเรียน หรือ คนละภาคการศึกษา )
  7. เนื่องจากทีมงานมีกำลังจำกัด ต่อ 1 โครงการ จะสร้างสื่อให้ไม่เกิน 8 หัวข้อ
  8. แต่ละหัวข้อของโจทย์การบ้าน ผู้ร่วมโครงการจะได้
    - ไฟล์กระดาษคำตอบ (.pdf)
    - ไฟล์โจทย์ตามเลขประจำตัวนักเรียน (.pdf)
    - ไฟล์คำตอบตามเลขประจำตัวนักเรียน (.pdf)
    - ไฟล์ scan ตัวอย่างการทำโจทย์ (.pdf)
  9. โจทย์ในกระดาษคำตอบแต่ละหัวข้อ ไม่ควรเกิน 1 กระดาษ A4 หรือ มีจำนวนไม่เกิน 10 ข้อ
  10. ภาควิชาคณิตศาสตร์จะขอนำชื่อผู้ร่วมโครงการ และ โจทย์ที่สร้างสรรค์ร่วมกัน ขึ้น website ภาควิชา
    เพื่อใช้เป็นแนวทางให้กับผู้สนใจท่านอื่นต่อไป
  11. หลังจากจบแต่ละโครงการทีมงานจะขอให้ผู้เข้าร่วมโครงการทำแบบประเมินโครงการ
    เพื่อนำข้อมูลที่ได้ไปพัฒนา และ ปรับปรุงโครงการต่อไป
  12. ถ้าผู้เข้าร่วมโครงการ ส่งภาพถ่ายการทำโจทย์ หรือ โจทย์ที่นักเรียนทำ ให้ทีมงานได้
    ทีมงานขอขอบพระคุณไว้ล่วงหน้าครับ
  13. หลังจากจบโครงการจะมีทีมวิจัยการเรียนการสอน ขอให้ครู และ นักเรียนที่ใช้โจทย์ทำแบบสอบถาม
    เพื่อนำข้อมูลมาวิจัยพัฒนาการเรียนการสอนต่อไป
  14. ภาคการศึกษาต่อๆไป ถ้าผู้เข้าร่วมโครงการต้องการใช้โจทย์เดิม แต่เปลี่ยนกลุ่มนักเรียน สามารถติดต่อให้ทีมงานสร้างโจทย์สำหรับนักเรียนกลุ่มใหม่ได้

 

ตัวอย่างที่ผู้สนใจเข้าร่วมโครงการจะได้

ถ้าผู้ร่วมโครงการ สนใจการบ้านเรื่องตรีโกณมิติ ร่วมประชุม และช่วยกันออกแบบแบบฝึกหัด
จะได้รับ 4 ไฟล์ ดังตัวอย่างต่อไปนี้ (Click ที่รูปภาพเพื่อ Download ไฟล์ตัวอย่าง)

  1. File กระดาษคำตอบ (.pdf)
    Ex1 1AnswerSheet
  2. File โจทย์แยกตามรหัส (.pdf)
    Ex1 2Question
  3. File คำตอบแยกตามรหัส (.pdf)
    Ex1 3Answer
  4. File ตัวอย่างการทำโจทย์Scan (.pdf)
    Ex1 4Example

 

ตัวอย่างการบ้านที่ใช้ในมหาวิทยาลัย

ตัวอย่างที่มีการใช้งานจริงในงานสอนของมหาวิทยาลัย (Click ที่รูปภาพเพื่อ Download ไฟล์ตัวอย่าง)

  1. File กระดาษคำตอบ (.pdf)
    Ex2 1AnswerSheet
  2. File โจทย์แยกตามรหัส (.pdf)
    Ex2 2Question
  3. File คำตอบแยกตามรหัส (.pdf)
    Ex2 3Answer
  4. File ตัวอย่างการทำโจทย์Scan (.pdf)
    Ex2 4Example

เอกสารอ้างอิง

  1. งานวิจัยเรื่อง โปรแกรมสร้างโจทย์สำหรับวิชา MATH0111 Mathematics II (Lab)
    โดย
    ดร.ธนากาญ สุนทรกระจ่าง
    ดร.สุรีย์พร สังข์สุวรรณ
    ดร.อรวรรณ อรุณพลังสันติ
  2. งานวิจัยเรื่อง โปรแกรมสร้างโจทย์สำหรับวิชา MATH0200 Mathematics II
    โดย
    ดร.อรวรรณ อรุณพลังสันติ
    ดร.ธนากาญ สุนทรกระจ่าง
  3. งานวิจัยเรื่อง การศึกษาความสัมพันธ์ของคะแนนสอบของนักศึกษาในรายวิชาคณิตศาสตร์
    โดย ดร.วราภรณ์ กาญจนทวี