โครงการบริการสังคม "สร้างโจทย์สำหรับนักเรียนรายบุคคล66"
ที่มา
การเรียนคณิตศาสตร์ทักษะและความเข้าใจเป็นเรื่องสำคัญ ซึ่งทักษะและความเข้าใจนี้เกิดขึ้นได้จากการฝึกฝนทำแบบฝึกหัด ภาควิชาคณิตศาสตร์เคยประสบปัญหาการลอกการบ้านของนักศึกษา ทำให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนการสอนไม่ดีเท่าที่ควร ภาควิชาฯ จึงพัฒนาโจทย์สำหรับนักศึกษาให้แต่ละคนได้โจทย์ไม่เหมือนกัน ทำให้นักศึกษาต้องพยายามทำการบ้านเอง หรือซักถามจากเพื่อน มากกว่าจะลอกโดยไม่ได้คิด จากการวัดผล การสอบ และงานวิจัยของภาควิชาฯ พบว่านักศึกษามีความกระตือรือร้นในการเรียนมากขึ้น และมีผลการเรียนดีขึ้น
ทางภาควิชาฯ พัฒนาสื่อชนิดนี้มามากกว่า 10 ปี มีความคิดว่าถ้าสามารถนำสื่อการสอนนี้ไปให้บริการแก่สังคม ทำให้ครู-อาจารย์ มีโจทย์สำหรับนักเรียนแต่ละคน และสามารถออกแบบโจทย์การบ้านหรือข้อสอบให้ตรงกับเนื้อหาที่สอน จะทำให้เกิดประโยชน์ในวงกว้างมากยิ่งขึ้น
Download >> เอกสารโครงการ << โดยละเอียด
สมัครเข้าร่วมโครงการ (ไม่มีค่าใช้จ่าย)
- Download บันทึกเข้าร่วมโครงการ
- กรอกข้อมูล
- ถ่ายรูป หรือ Scan ส่งที่ Facebook ภาควิชาคณิตศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร
https://www.facebook.com/MathematicsMUT
รายชื่อผู้เข้าร่วมโครงการ
- อ.วิรัตน์ ศิริมังคลานุรักษ์ โรงเรียนพระวิสุทธิวงส์ วิชาคณิตศาสตร์ ระดับมัธยมศึกษาปีที่ 4 รายวิชาเพิ่มเติม
รหัสโครงการ Math@MUT66001 - อ.วิรัตน์ ศิริมังคลานุรักษ์ โรงเรียนพระวิสุทธิวงส์ วิชาคณิตศาสตร์ ระดับมัธยมศึกษาปีที่ 5 รายวิชาเพิ่มเติม
รหัสโครงการ Math@MUT66003 - อ.วิรัตน์ ศิริมังคลานุรักษ์ โรงเรียนพระวิสุทธิวงส์ วิชาคณิตศาสตร์ ระดับมัธยมศึกษาปีที่ 5 รายวิชาพื้นฐาน
รหัสโครงการ Math@MUT66004 - อ.วิรัตน์ ศิริมังคลานุรักษ์ โรงเรียนพระวิสุทธิวงส์ วิชาคณิตศาสตร์ ระดับมัธยมศึกษาปีที่ 6 รายวิชาเพิ่มเติม
รหัสโครงการ Math@MUT66005 - [ ยินดีรับผู้เข้าร่วมโครงการเพิ่มเติม ]
- .
วัตถุประสงค์โครงการ
- ภาควิชาคณิตศาสตร์ และ ครู-อาจารย์ รวมกันพัฒนา สื่อประเภทการบ้าน และ ข้อสอบ
- เกิดการพัฒนาการเรียนการสอน ในวงกว้าง
- นักเรียน-นักศึกษา มีโจทย์ฝึกทักษะ ไม่ซ้ำกัน และหลากหลายมากยิ่งขึ้น
ข้อดีของโครงการ
- ครู-อาจารย์ สามารถสร้างสื่อการสอนประเภทการบ้านหรือข้อสอบ ได้ตรงกับเนื้อหาที่สอน
- ครู-อาจารย์ สามารถออกแบบ และ พัฒนาโจทย์ ที่ตรงกับพื้นฐานความรู้ของนักเรียนที่ตนเองสอน
- ครู-อาจารย์ สามารถใช้เป็นผลงานหรืองานวิจัยการสอนของตนเองได้
- นักเรียน-นักศึกษา จะมีโจทย์ฝึกซ้อมทักษะมากขึ้น นอกเหนือจากที่อยู่ในหนังสือมาตรฐาน
- นักเรียน-นักศึกษา แต่ละคนมีโจทย์เป็นของตนเอง ไม่สามารถลอกงานใครได้
- เมื่อเปลี่ยนจากการขอลอกงาน เป็นการขอให้ช่วยสอนทำ จะทำให้ทั้งผู้เรียนและผู้สอนได้ทักษะ ความรู้ และความเข้าใจมากยิ่งขึ้น
ขั้นตอนการดำเนินการ
- ภาควิชาคณิตศาสตร์ ประกาศโครงการแก่สังคม ผ่านทาง เวปไซต์ของมหาวิทยาลัย , เวปไซต์ภาควิชา , Facebookภาควิชา และ Facebookของคณาจารย์ประจำภาควิชา
- ผู้เข้าร่วมโครงการ ร่วมประชุมออกแบบโจทย์กับทีมงานของภาควิชา (อาจผ่านทางระบบ Online)
- ทีมงานพัฒนาสื่อของภาควิชาฯ ร่วมกันพัฒนา และทดสอบความถูกต้อง
- นำเสนอผลงานแก่ผู้เข้าร่วมโครงการ เพื่อตรวจสอบ แก้ไข และนำไปใช้ ต่อไป
- ทีมงานของภาควิชา ติดตามผลของการนำสื่อไปใช้ เพื่อนำมาวิเคราะห์ผลสัมฤทธิ์
- ภาควิชาคณิตศาสตร์ นำผลสัมฤทธิ์ มาใช้พัฒนาสื่อการสอน และ การสอนในมหาวิทยาลัย
- ในอนาคต ภาควิชาคณิตศาสตร์ อาจสามารถนำผลที่ได้ มาพัฒนาเป็นงานวิจัย ต่อไป
ผู้เข้าร่วมโครงการจะได้
- File กระดาษคำตอบ (.pdf)
- File โจทย์แยกตามรหัส (.pdf)
- File คำตอบแยกตามรหัส (.pdf)
- File ตัวอย่างการทำโจทย์Scan (.pdf)
ทีมงาน
- ดร.ธนากาญ สุนทรกระจ่าง : หัวหน้าโครงการ , โปรแกรมเมอร์
- ดร.สุรีย์พร สังข์สุวรรณ : ทดสอบผลงาน , ทำเฉลย
- อ.กานต์ฐิตา สัมปันณา : ทดสอบผลงาน , ทำเฉลย
- ดร.อรวรรณ อรุณพลังสันติ : ทดสอบผลงาน , ทำเฉลย , เลขานุการโครงการ
ตารางเวลาการดำเนินโครงการ
ขั้นตอน | 2566 | 2567 | ||||||||||||
มิ.ย. | ก.ค. | ส.ค. | ก.ย. | ต.ค. | พ.ย. | ธ.ค. | ม.ค. | ก.พ. | มี.ค. | เม.ย. | พ.ค. | มิ.ย. | ||
1. | วางแผน และ กำหนดทีมงาน | |||||||||||||
2. | ประชาสัมพันธ์โครงการ | |||||||||||||
3. | รับสมัครผู้เข้าร่วมโครงการ | |||||||||||||
4. | ดำเนินโครงการ - ประชุมออกแบบสื่อ - สร้างสื่อ - นำเสนอผลงาน - ประเมินผลงาน |
|||||||||||||
5. | สรุปผลโครงการ |
การวัดผลสัมฤทธิ์ของโครงการ
ประเมินจากนักเรียนที่ใช้โจทย์ โดยผลการประเมินเฉลี่ย มากกว่า 4 คะแนน (เต็ม 5 คะแนน)
ข้อตกลงระหว่างทีมงาน และ ผู้เข้าร่วมโครงการ
- การเข้าร่วมโครงการ ผู้เข้าร่วมโครงการไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้งสิ้น
- โจทย์ และ สื่อการสอนที่ได้จากโครงการถือว่าเป็นลิขสิทธ์ร่วมกันของผู้เข้าร่วมโครงการ และ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร
- มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานครอนุญาตให้ผู้เข้าร่วมโครงการนำโจทย์ไปใช้เป็นผลงานการสอนได้
- ผู้เข้าร่วมโครงการจะต้องนำโจทย์ไปใช้สอนจริง
- ผู้เข้าร่วมโครงการจะต้องไม่นำโจทย์ไปขาย หรือ ทำการอื่นใดเพื่อสร้างรายได้ อย่างเด็ดขาด
- โครงการ 1 โครงการ สำหรับ ครู 1 ท่าน / 1 วิชา / 1 ชั้นเรียน / 1 ภาคการศึกษา
( ครู 1 ท่าน อาจเข้าร่วมโครงการหลายครั้งได้ กรณีที่สอนหลายชั้นเรียน หรือ คนละภาคการศึกษา ) - เนื่องจากทีมงานมีกำลังจำกัด ต่อ 1 โครงการ จะสร้างสื่อให้ไม่เกิน 8 หัวข้อ
- แต่ละหัวข้อของโจทย์การบ้าน ผู้ร่วมโครงการจะได้
- ไฟล์กระดาษคำตอบ (.pdf)
- ไฟล์โจทย์ตามเลขประจำตัวนักเรียน (.pdf)
- ไฟล์คำตอบตามเลขประจำตัวนักเรียน (.pdf)
- ไฟล์ scan ตัวอย่างการทำโจทย์ (.pdf) - โจทย์ในกระดาษคำตอบแต่ละหัวข้อ ไม่ควรเกิน 1 กระดาษ A4 หรือ มีจำนวนไม่เกิน 10 ข้อ
- ภาควิชาคณิตศาสตร์จะขอนำชื่อผู้ร่วมโครงการ และ โจทย์ที่สร้างสรรค์ร่วมกัน ขึ้น website ภาควิชา
เพื่อใช้เป็นแนวทางให้กับผู้สนใจท่านอื่นต่อไป - หลังจากจบแต่ละโครงการทีมงานจะขอให้ผู้เข้าร่วมโครงการทำแบบประเมินโครงการ
เพื่อนำข้อมูลที่ได้ไปพัฒนา และ ปรับปรุงโครงการต่อไป - ถ้าผู้เข้าร่วมโครงการ ส่งภาพถ่ายการทำโจทย์ หรือ โจทย์ที่นักเรียนทำ ให้ทีมงานได้
ทีมงานขอขอบพระคุณไว้ล่วงหน้าครับ - หลังจากจบโครงการจะมีทีมวิจัยการเรียนการสอน ขอให้ครู และ นักเรียนที่ใช้โจทย์ทำแบบสอบถาม
เพื่อนำข้อมูลมาวิจัยพัฒนาการเรียนการสอนต่อไป - ภาคการศึกษาต่อๆไป ถ้าผู้เข้าร่วมโครงการต้องการใช้โจทย์เดิม แต่เปลี่ยนกลุ่มนักเรียน สามารถติดต่อให้ทีมงานสร้างโจทย์สำหรับนักเรียนกลุ่มใหม่ได้
ตัวอย่างที่ผู้สนใจเข้าร่วมโครงการจะได้
ถ้าผู้ร่วมโครงการ สนใจการบ้านเรื่องตรีโกณมิติ ร่วมประชุม และช่วยกันออกแบบแบบฝึกหัด
จะได้รับ 4 ไฟล์ ดังตัวอย่างต่อไปนี้ (Click ที่รูปภาพเพื่อ Download ไฟล์ตัวอย่าง)
- File กระดาษคำตอบ (.pdf)
- File โจทย์แยกตามรหัส (.pdf)
- File คำตอบแยกตามรหัส (.pdf)
- File ตัวอย่างการทำโจทย์Scan (.pdf)
ตัวอย่างการบ้านที่ใช้ในมหาวิทยาลัย
ตัวอย่างที่มีการใช้งานจริงในงานสอนของมหาวิทยาลัย (Click ที่รูปภาพเพื่อ Download ไฟล์ตัวอย่าง)
- File กระดาษคำตอบ (.pdf)
- File โจทย์แยกตามรหัส (.pdf)
- File คำตอบแยกตามรหัส (.pdf)
- File ตัวอย่างการทำโจทย์Scan (.pdf)
เอกสารอ้างอิง
- งานวิจัยเรื่อง โปรแกรมสร้างโจทย์สำหรับวิชา MATH0111 Mathematics II (Lab)
โดย
ดร.ธนากาญ สุนทรกระจ่าง
ดร.สุรีย์พร สังข์สุวรรณ
ดร.อรวรรณ อรุณพลังสันติ - งานวิจัยเรื่อง โปรแกรมสร้างโจทย์สำหรับวิชา MATH0200 Mathematics II
โดย
ดร.อรวรรณ อรุณพลังสันติ
ดร.ธนากาญ สุนทรกระจ่าง - งานวิจัยเรื่อง การศึกษาความสัมพันธ์ของคะแนนสอบของนักศึกษาในรายวิชาคณิตศาสตร์
โดย ดร.วราภรณ์ กาญจนทวี