10แนวทางหลักในการศึกษาการทำวิจัยให้มีคุณภาพ
- Details
- Written by ดร.อรวรรณ อรุณพลังสันติ
ที่มา
การทำวิจัยให้มีคุณภาพนั้น ไม่ว่าจะเป็นการวิจัยทางสายวิทยาศาสตร์ หรือทางสายอื่นๆ ต้องมีการวางแผนงานอย่างเป็นระบบ เป็นลำดับขั้นตอน ไม่เกิดความคลาดเคลื่อนของการวิจัยในแต่ละขั้นตอน รวมทั้งมีกำหนดระยะเวลาที่แน่นอน เพื่อให้งานวิจัยออกมาสมบูรณ์
สำหรับงานวิจัยทางด้านคณิตศาสตร์นั้น แบ่งกว้างๆออกเป็นทางด้านคณิตศาสตร์บริสุทธิ์ และทางด้านคณิตศาสตร์ประยุกต์ ซึ่งก็มีรายละเอียดในการทำวิจัยแตกต่างกัน แต่โดยภาพรวมของการทำงานวิจัยนั้นไม่แตกต่างกันมากนัก
10แนวทางหลักในการศึกษาการทำวิจัยให้มีคุณภาพ ดังต่อไปนี้
เกียรติบัตร HONOUR57
- Details
- Written by Dr.Thanakarn Soonthornkrachang
มหาวิทยาลัยฯ มีโครงการห้องเรียนพิเศษ (Honour Class) สำหรับนักศึกษาคณะวิศวกรรมศาสตร์ชั้นปีที 1 หลักสูตร 4 ปี
สำหรับปีการศึกษา 2557 ภาควิชาคณิตศาสตร์ดำเนินการจัดการเรียนการสอนตามโครงการรายวิชา MATH0111 (Mathematics II)
การเลือกนักศึกษาเข้าร่วมโครงการพิจารณาเลือกจากผู้ที่มีคะแนนดีเด่นจากรายวิชา MATH0110 (Mathematics I) และ สมัครใจเข้าร่วมโครงการ โดยเริ่มเปิดภาคการศึกษา มีนักศึกษาเข้าร่วมโครงการ 36 คน เมื่อสิ้นสุดภาคการศึกษา ผู้สอน (ดร.ธนากาญ สุนทรกระจ่าง) พิจารณาเห็นว่ามีผู้สมควรได้ครับ "เกียรติบัตร ได้เข้าร่วมโครงการห้องเรียนพิเศษ (Honour Class)" จำนวน 35 คน ดังนี้
การใช้โปรแกรมเช็กชื่อ ร่วมกับ เครื่องอ่านบาร์โค้ด
- Details
- Written by ดร.อรวรรณ อรุณพลังสันติ
ที่มา
การเรียนการสอนวิชาพื้นฐานของทางภาควิชาคณิตศาสตร์ ทุกรายวิชามีการเช็กจำนวนนักศึกษาเพื่อให้นักศึกษาเข้าเรียนสม่ำเสมอ และจำนวนเข้าเรียนมีผลกับคะแนนเก็บ สำหรับรายวิชาที่เป็นวิชาปฏิบัติการนั้น นอกจากการเช็กชื่อเข้าเรียนแล้ว เมื่อทำงานท้ายคาบเสร็จ ต้องเช็กชื่อออกจากห้องปฏิบัติการด้วย ซึ่งข้อมูลในส่วนนี้ มีผลกับการตรวจสอบงานท้ายคาบที่ทำส่ง เพราะการส่งงานในวิชาปฏิบัติการเป็นไฟล์งานเมเปิล โดยส่งผ่านระบบserver ดังนั้นจึงต้องมีการตรวจสอบหลายอย่างซึ่งมีทั้งหมด 4 อย่างคือ มีการเช็กชื่อเข้าเรียน เช็กชื่อออก ไฟล์งานที่เรียนในห้อง และ ไฟล์ใบงานท้ายคาบที่เป็นโจทย์แตกต่างกันตามรหัสนักศึกษา สำหรับการตรวจงานของอาจารย์ผู้สอน จึงต้องมีโปรแกรมรองรับข้อมูลเหล่านี้ ซึ่งทาง ดร.ธนากาญ ได้พัฒนาโปรแกรมเก็บข้อมูลเพื่อตรวจเช็กงานของนักศึกษา
Read more: การใช้โปรแกรมเช็กชื่อ ร่วมกับ เครื่องอ่านบาร์โค้ด
เกมส์ IQ180 ==> 7 กับ 1 เป็น 71
- Details
- Written by Dr.Oravan Arunphalungsanti
เคยดูรายการ ไอคิว 180 กันรึเปล่าค่ะ ?
[ ** รายการ ไอคิว 180 เป็นรายการประเภทควิชโชว์วิชาการ
มีอาจารย์ชัยณรงค์ มนเทียรวิเชียรฉาย เป็นพิธีกร
ออกอากาศครั้งแรก เมื่อปี 2528 ที่ช่อง 5 ยุติรายการไปเมื่อปี 2540 ]
เป็นรายการเกมส์ความรู้ เก่ามากแล้ว
สมัยนั้นดังมาก โดยเฉพาะในหมู่นักเรียน-นักศึกษา (เด็กสมัยนี้อาจไม่รู้จัก)
ช่วงหนึ่งของรายการ จะเป็นการแข่งความเร็วในการคำนวณ
โดยจะให้ผู้เข้าแข่งขัน คำนวณเลขโดดที่สุ่มได้จากคอมพิวเตอร์ พร้อมผลลัพธ์ เป็นเลขสองหลัก
ผู้เข้าแข่งขันคนไหนตอบได้ก่อน ก็จะได้คะแนน
เช่น ถ้าคอมพิวเตอร์ สุ่มเลขโดด ได้ 5 ตัวดังนี้ 3 2 4 5 7 พร้อมทั้ง คำตอบที่ต้องการ 52
ผู้เข้าแข่งขันก็จะต้องนำเลขโดด 5 ตัว มากระทำการทางคณิตศาสตร์ต่างๆ เพื่อให้ได้คำตอบเป็น 52 ให้ได้ค่ะ
เช่น อาจจะตอบคำตอบใดคำตอบหนึ่งด้านล่างนี้
(3 + 7) x 5 + 4 / 2 | , | (3 + 7) x 5 + 4 - 2 | , | [(7 x 4) - 5 + 3] x 2 | , |
7 x (3 + 4) + 5 - 2 | , | (7 + 3 + 5 - 2) x 4 | , | 7C4 + 5 x 3 + 2 | , |
7 2 + 4 + 2 - 3 | , | 5 2 + (7 - 4) 3 | , | 5 2 + 3 7-4 |
หรือ ตอบแบบอื่นๆ แบบไหนก็ได้ค่ะ ขอให้เร็วที่สุดก็พอ!!!
ที่นึกถึงเกมส์นี้ได้ ก็เพราะว่า วันก่อนพี่สาว มีคำถามแนวนี้เลยค่ะ แต่ ....
คำตอบสนุกๆ (คนตรวจคงไม่สนุก คนทำยิ่งไม่สนุก)
- Details
- Written by Dr.Thanakarn Soonthornkrachang
คิดว่าผู้อ่านบางคนคงเคยอ่าน e-mail เกี่ยวกับการทำข้อสอบที่ดูแล้วตลก(จริงรึเปล่า?) ฉบับนี้มาบ้างแล้ว
สำหรับ ผมได้ e-mail ฉบับนี้หลายครั้งมาก มาจากทั้งเพื่อน และทั้งลูกศิษย์ครับ (เค้าคงอยากถามผมว่า เคยเจอแบบนี้รึเปล่า แต่ผมไม่กล้าตอบกลับไปหรอกครับ กลัวเค้าตกใจครับ)
อ่านแล้วก็คงตลก แต่ก็อืมมมม ถ้าผมเป็นอาจารย์ผู้สอนคงไม่ตลกเท่าไหร แล้วยิ่งถ้าได้เป็นคนทำข้อสอบด้วยแล้ว คงไม่สนุกแน่ๆ
ลองดูครับ
รูปแรก
ถ้าได้ตรวจตอนตรวจคงจะคิดว่า "เออ จริงของมันหว่ะ"
หรือไม่ก็ "มันคิดว่าเราออกข้อสอบเป็น PhotoHunt เหรอ(ว่ะ)"
Mathematics in nature
- Details
- Written by ดร.วราภรณ์ กาญจนทวี
ลองดูวิดิโอลิงก์อันนี้ซิแล้วจะเห็นว่าคณิตศาสตร์แฝงอยู่ในธรรมชาติจริงๆ
วิดิโอนี้เริ่มจากตัวเลขเรียงกันคั่นด้วยเครื่องหมายจุลภาค ในทางคณิตศาสตร์เราจะเรียกว่าลำดับ ลำดับที่เห็นนี้เป็นลำดับที่มีชื่อเฉพาะเรียกว่า “ลำดับฟิโบนักชี” ซึ่งวิดิโอนี้ก็แสดงให้ดูด้วยว่าตัวเลขลำดับถัดไปจะเกิดจากตัวเลขที่อยู่ลำดับก่อนหน้าสองตัวบวกกัน
0,1,1=0+1,2=1+1,3=1+2,5=2+3,8=3+5, …
ถ้าเราสร้างรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสเริ่มจากด้านเป็นหนึ่งสองรูปต่อกัน แล้วสร้างสี่่เหลี่ยมที่ด้านเป็นสองขึ้นข้างบน จะสร้างสี่เหลี่ยมขนาดเป็นสามได้ทางด้านขวา และสร้างสี่เหลี่ยมขนาดเป็นห้าได้ด้านบน ไปเรื่อยๆ ขนาดของสี่เหลี่ยมจัตุรัสที่สร้างขึ้นจะมีด้านสอดคล้องกับลำดับฟิโบนักชิ ทีนี้ลองลากเส้นโค้งตามแนวเส้นทะแยงมุมของสี่เหลี่ยมจากรูปในสุดวนออกมาจะได้เส้นโค้งที่่เค้าจะเรียกกันว่า golden spiral เป็นลักษณะของเส้นโค้งที่พบได้ในธรรมชาติมากมายเช่นเปลือกหอยที่เห็นในวิดิโอ รอยหยักบนดอกกะหล่ำ หรือแม้แต่ตาสับปะรด
ทีนี้ลองเอาตัวเลขสองตัวติดกันในลำดับฟิโบนักชิหารกัน โดยเอาตัวหลังหารด้วยตัวหน้า ตัวเลขที่มีค่ามากๆ หารกันจะได้ผลหารมีค่าเข้าใกล้ค่า 1.6180339887… ซึ่งเป็นค่าคงที่ค่าหนึ่งเป็นจำนวนอตรรกยะที่ทางคณิตศาสตร์ใช้ตัวอักษรกรีกตัวใหญ่แทนด้วย Φ หรืออักษรกรีกตัวเล็ก φ อ่านว่า “phi” หรือ “ฟี” แต่มักจะเป็นรู้จักกันในชื่อ golden ratio
ในวิดิโอแสดงให้เห็นการสร้างค่า φ ทางเรขาคณิตโดยแบ่งเส้นตรงออกเป็นสองส่วนที่ไม่เท่ากันอัตราส่วนของด้านยาวหารด้วยด้านสั้นจะเท่ากับอัตราส่วนของความยาวเส้นตรงหารด้วยด้านยาว หรือถ้าเทียบกับในวิดิโอก็จะได้ a/b = (a+b)/a ซึ่งจะได้เท่ากับค่า φ นั่นเอง
ขอให้ศัพท์เกี่ยวกับทองอีกสักคำคือ golden angel ซึ่งเป็นมุมที่จุดศูนย์กลางของส่วนของวงกลมเมื่อเส้นโค้งวงกลมมีขนาดเท่ากับ φ ค่ามุมนี้จะมีค่าเท่ากับ 137.50 องศา ว่ากันว่าจุดที่กระจายออกด้วยมุมขนาดเท่านี้จะสามารถใส่จำนวนจุดลงในพื้นที่จำกัดพื้นที่หนึ่งได้มากที่สุดเมื่อเทียบกับขนาดมุมอื่นๆ เค้าให้ดูจากเมล็ดทานตะวัน มีคนบอกว่าเมล็ดทานตะวันเรียงตัวกันตามเส้นโค้ง golden spiral และถ้าลองนับเมล็ดตามวงโค้งในแต่ละวงจำนวนเมล็ดจะเป็นไปตามลำดับฟิโบนักชิด้วย กลีบเลี้ยงของดอกไม้หลายชนิดก็เช่นกัน จำนวนกลีบเลี้ยงถ้าเริ่มจากชั้นนอกสุดเป็น 3 ชั้นถัดไปจะเป็น 5 หรือถ้าเริ่มจากชั้นนอกสุดเป็น 5 ชั้นถัดไปจะเป็น 8 น่าแปลกนะ
อัจฉริยะศิลปพับกระดาษ
- Details
- Written by รศ.ดร.ภัทรกุล จริยวิทยานนท์
เคยพับกระดาษเป็นเครื่องบิน นก ตะกร้า หรือรูปอื่น ๆ กันบ้างไหม ศิลปะการพับกระดาษเป็นรูปทรงต่าง ๆ เป็นที่รู้จักกันในชื่อ “โอริงามิ (origami)” เอริก เดอเมียน นักคณิตศาสตร์เป็นบุคคลหนึ่งที่ค้นคว้าศึกษาคณิตศาสตร์ที่อยู่ในการพับกระดาษ และสร้างองค์ความรู้ที่สามารถนำไปประยุกต์ได้ในศาสตร์อื่น ที่จะเป็นประโยชน์ต่อมวลมนุษย์ต่อไป บทความเรื่อง “อัจฉริยะศิลปะพับกระดาษ” เล่าเรื่องราวของเอริก เดอเมียน และการศึกษาของเขาได้เป็นอย่างดี บทความนี้มาจากหนังสือสรรสาระ (Reader’s Digest) ฉบับเดือนธันวาคม 2553